หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554




ตอบ 3
การกำจัดพลาสติก

นัก วิทยาศาสตร์ได้มีการคิดค้นวิธีกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้ว และค้นคว้าเพื่อสังเคราะห์พลาสติกชนิดใหม่ ๆ ที่สามารถใช้งานได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะสลายตัวไป หรือสังเคราะห์พลาสติกที่จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ ปัจจุบันมีวิธีกำจัดพลาสติกได้หลายวิธีดังนี้
ปัญหามลพิษที่เกิดจากขยะ
ก) ใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี
สังเคราะห์พลาสติกที่มีโครงสร้างทางเคมีที่สามารถถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์ของจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียหรือเชื้อรา เช่น เซลลูโลสซานเทต และเซลลูโลสแอซีเตต หรือการผสมแป้งข้าวโพดในพอลิเอทิลีน แล้วนำมาผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์

ข) ใช้สมบัติการละลายในน้ำ
พลาสติก บางชนิด เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ สามารถละลายในน้ำได้ เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นสูง หรืออยู่ในน้ำ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น พลาสติกจะละลายได้เพิ่มขึ้น

ค) ใช้แสงแดด
นักเคมีชาวแคนาดาพบว่าการเติมหมู่ฟังก์ชันที่ไวต่อแสงอัลตราไวโอเลตเข้าไปในโซ่พอลิเมอร์ เมื่อพลาสติกถูกแสงแดดจะเกิดสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้พลาสติกเสื่อมคุณสมบัติ เปราะ แตก และหักง่าย

ง) ใช้ความร้อน
พลาสติก ที่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เมื่อได้รับความร้อนถึงระดับหนึ่งจะสลายตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ในที่สุดจะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ หรือสารอื่นซึ่งเป็นพิษปนออกมาด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก เช่น พอลิเอทิลีนติดไฟง่าย พอลิสไตรีนเผาไหม้ให้ควันดำและเขม่ามาก พอลิไวนิลคลอไรด์ติดไฟยาก ต้องให้ความร้อนตลอดเวลา และเกิดแก๊ส HCl ซึ่งเป็นแก๊สพิษเกิดขึ้นด้วย






ตอบ 3
ใน ยุคสมัยที่มีการใช้พลาสติกทั่วไปนั้น มีขยะพลาสติกเป็นปริมาณมากมายท่วมท้นตามที่ทิ้งขยะในประเทศต่างๆ ในเอเชีย และไหลหลุดไปอยู่ในทะเลและเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชในน้ำ
ตอน นี้ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้ประกอบกิจการต่างๆ กำลังพยายามดำเนินงานในการแปรรูปพลาสติกให้กลับสู่สภาพสารประกอบเดิม คือ น้ำมัน
นัก วิทยาศาสตร์กล่าวว่าในบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิค มีขยะพลาสติกสุมอยู่มากมายก่ายกองเป็นบริเวณกว้างขวางใหญ่โตขนาดราวครึ่ง หนึ่งของพื้นที่รัฐเท็กซัส หรือราว 1 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศไทย คิดเป็นน้ำหนักรวมแล้วราว 300 ล้านตัน และกำลังเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล นอกจากนั้น กระแสน้ำในมหาสมุทรยังมีขยะจากบริเวณตอนเหนือของเอเชีย และตอนเหนือของทวีปอเมริกาอีกด้วย
กลุ่ม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง กับบรรดาผู้ประกอบกิจการจากฮ่องกง จากรัฐคาลิฟอร์เนียในสหรัฐ และจากกรุงลอนดอน จัดตั้งโครงการ Kaisei ขึ้นมาเพื่อแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงดีเซล คำว่า Kaisei เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "โลกมหาสมุทร"
Doug Woodring หัว หน้าโครงการนี้กล่าวว่า ปัญหาขยะพลาสติกนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่พลาสติกไม่ย่อยสลายทางชีวภาพ ไม่กลับสู่ธรรมชาติ แม้จะแตกสลายมีขนาดเล็กลง แต่เศษที่เหลืออยู่ยังเป็นอันตราย เพราะเหล่านก ปลา ปู เต่า สัตว์น้ำทั้งหลายมากินโดยนึกว่าเป็นอาหาร ด้วยเหตุนี้ จึงมีปัญหามากมายด้านสุขภาพ หรือสภาพของมหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตในทะเล
โครงการ ไคเซอี จะนำเรือออกไปยังบริเวณที่นักวิจัยเรียกกันว่า "วังวนขยะพลาสติค" เพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับชีวิตในทะเล ปัญหาความเป็นพิษของสารต่างๆ ตลอดจนวิธีการกำจัดขยะพลาสติกในบริเวณนั้น
Doug Woodring กล่าว ว่า มีเทคโนโลจีใหม่ๆ ที่สามารถแปรรูปขยะเหล่านั้นให้เป็นเชื้อเพลิงดีเซลได้ และว่าอย่างน้อย ก็จะทำให้มีช่องทางที่จะเก็บกวาดขยะพลาสติกในทะเลได้ในเวลาต่อไป หากสามารถนำเรือขนาดใหญ่ และแหอวนหรือตาข่ายขนาดใหญ่ออกไปยังบริเวณนั้นได้
ในประเทศไทยนั้น มีการดำเนินงานแปรรูปขยะพลาสติกร่วมกับเทศบาลจังหวัดระยอง ซึ่ง บริษัท Single Point Energy and Environment กำลังแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวแล้วขายให้แก่โรงกลั่นน้ำมัน
ดร. สันติวิภา พานิชกุล นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทนี้กล่าวว่า เทคโนโลจีนี้ จะย่อยโมเลกุลขยะให้เป็นน้ำมันและก๊าซ ซึ่งเป็นการแปรรูปพลาสติกให้กลับสู่สภาพหรือรูปเดิม ในแต่ละวันโรงงานนี้สามารถแปรรูปขยะพลาสติกได้ถึง 10 ตัน ให้ออกมาเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งนำมาใช้กับเครื่องจักรกล รถมอเตอร์ไซค์ และระบบทำความร้อนได้โดยตรง
ดร. สันติวิภา พานิชกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท Single Point Energy and Environment กล่าว ว่า ตั้งใจที่จะพยายามให้รัฐบาลรับดำเนินนโยบายการแปรรูปขยะพลาสติก ให้เป็นพลังงาน เพราะประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากมาย ปีละราว 2 ล้าน 5 แสนตันเป็นอย่างน้อย
หลังจากได้รับการเตือนจากบรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียกำลังเริ่มเข้ามาดำเนินการกับปัญหาขยะพลาสติก ฮ่องกงเรียกเก็บภาษีถุงพลาสติกใส่ของประเทศไทยกำลังศึกษาพิจารณาการเก็บภาษีพลาสติกที่ทำจากน้ำมัน และรัฐบาลของอีก 23 ประเทศกำลังดำเนินงานแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงโดยตรง
ดร. สันติวิภา พานิชกุล กล่าวว่า แม้ว่าเครื่องแปรรูปขยะพลาสติกเครื่องหนึ่งๆ จะราคาค่อนข้างสูง คือตกราวเครื่องละ 2 ล้านดอลลาร์ แต่เทศบาลในสองเขตในประเทศไทย กำลังใช้เทคโนโลจีของบริษัทนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียเต็มใจที่จะยอมจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดขึ้น

ตอบ 1
บ่มมะม่วง



นำมะม่วงวางเรียงในภาชนะบ่ม รองด้วยใบตองหรือใบขี้เหล็ก ใส่แก๊สจุดตะเกียง (แคลเซียมคาร์ไบท์) ก้นภาชนะบ่ม ทำเหมือนปกติทุกประการ เรียบร้อยแล้วฉีดพ่นด้วยเหล้าขาวเฉพาะผลมะม่วงชั้นบนสุดของภาชนะบ่มหรือจุ่ม มะม่วงที่จะบ่มทั้งผลแล้งบรรจุลงภาชนะบ่มตามปกติ แอลกอฮอร์จากเหล้าขาวจะช่วยให้ผิวมะม่วงเหลืองสวยตลอดผลเท่ากันทุกผล


บ่มมะม่วงอีกวิธี


มะม่วงแก่จัดผ่านการตรวจสอบและผ่านการฆ่าเชื้อรา โรคผลเน่า (แอนแทรกโนส) แล้ว เมื่อจะบ่มให้ใช้ใบขี้เหล็กแก่หรือใบสะเดาสดแก่รองพื้นและบุด้านข้างโอ่ง หรือกระบุงหนาประมาณ 1 ฝ่ามือตั้ง แล้วนำผลมะม่วงแก่วางนอนเรียงเป็นชั้นแรกก่อนแล้วใช้ใบขี้เหล็กหรือใบสะเดา วางทับบางๆ วางผลมะม่วงนอนเรียงชั้นที่สองแล้วทับด้วยใบขี้เหล็กหรือใบสะเดาอีก ทำซ้ำหลายๆชั้นจนเต็มถึงปากโอ่งหรือกระบุงแล้วปิดทับด้วยใบขี้เหล็กหรือใบสะ ดาหนาๆใช้ผ้าห่มหนาๆปิดทับใบขี้เหล็กหรือบสะเดาอีกชั้นนำเก็บไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ประมาณ 3-5 วันมะม่วงจะแก่จัดเริ่มสุก สารเอทเทลีนในใบขี้เหล็กหรือใบสะเดาที่ระเหยออกมาจะช่วยให้มะม่วงมีสีเหลือง ตลอดผลและทุกผลสม่ำเสมอกันดี
http://www.kasettoday.com/kasetboard/index.php?topic=114.0

ตอบ 4

สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้
โดยที่ X คือ สัญลักษณ์ธาตุ
Z คือ เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
A คือ เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
สูตร A = Z + N
โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน อะตอมของธาตุเป็นกลางทางไฟฟ้า (จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน)
http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_07.html


ตอบ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น