หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 22-26 พฤศจิกายน 2553

ตอบ 3

อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นสารพิษชนิดหนึ่งซึ่งมักพบเจือปนอยู่ในอาหาร เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรากลุ่ม Aspergillus flavus, A. parasiticus และ A. nomius แต่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อราชนิด Aspergillus flavus ที่เจริญเติบโตอยู่บนเมล็ดถั่วลิสงและข้าวโพดและอาจพบในข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี มันสำปะหลัง หอม กระเทียม พริกแห้ง [1] มีสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลือง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถทนความร้อนสูง การต้มหรือทอดไม่สามารทำลายสารนี้ได้

ที่มาhttp://th.wikipedia.org /wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99
ตอบ 1
อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "เกาะแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่ทำหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย
ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบาง ชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบ คุมระดับกลูโคสในเลือด
อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da
โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุม พลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที่สุด

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99


ตอบ 2
การ โคลนนิ่ง (cloning) คือ การคัดลอก (copy) พันธุ์หรือการสร้างสิ่งมีชีวิต ขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฎิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย แต่ ใช้เซลล์ร่างกายในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ (4) ซึ่งมีลักษณะทางพันธุ กรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่ เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน กระบวนการโคลน นิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปใน วงการเกษตร (2)
โคลนนิ่ง เป็นเทคโนโลยีที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจ มากว่า 100 ปี โดยในปี พ.ศ. 2445 Hans Spemann ประสบความสำเร็จในการแบ่งแยก เอ็มบริโอของซาลาเมนเดอร์ โดยการใช้เส้นผมผูกไว้จนแยกออกเป็น 2 ส่วน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2471 เขาได้วิจัยให้เห็นว่านิวเคลียสจากเอ็มบริโอของซาลาเมน เดอร์ สามารถทำให้ไข่ที่มีเฉพาะไซโตพลาสซึม แบ่งตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มี การพัฒนาวิธีการโคลนนิ่งโดยใช้นิวเคลียส จากเซลล์ของเอ็มบริโอที่แบ่งตัว แบบทวีคูณเพื่อให้ได้เอ็มบริโอเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาการโคลน นิ่งในปัจจุบัน (3) ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการทำการโคลนนิ่งแกะโดยใช้ เซลล์จากเต้านมของแกะที่โตแล้วเป็นเซลล์ต้นแบบ ได้แกะที่มีชื่อว่า "ดอล ลี่" ซึ่งแกะดอลลี่นี้สามารถตั้งท้องและให้กำเนิดลูกได้เช่นเดียวกับสัตว์ ทั่วไป (1)
สำหรับการโคลนนิ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง ตามวัตถุประสงค์ คือ (3)
1. การโคลนนิ่งเพื่อการขยายพันธุ์ (Reproductive cloning) แบ่งเป็น 2 วิธีคือ
1.1 เอ็มบริโอ โคลนนิ่ง (Embryo cloning)
1.2 ดีเอ็นเอ โคลนนิ่ง (DNA cloning)
2. การโคลนนิ่งเพื่อการรักษา (Therapeutic cloning)
1. การโคลนนิ่งเพื่อการขยายพันธุ์ (Reproductive cloning) แบ่งเป็น 2 วิธีคือ
1.1 เอ็มบริโอ โคลนนิ่ง (Embryo cloning) เป็นเทคนิคทางการแพทย์ซึ่งสามารถ สร้างคนขึ้นมาใหม่ได้ให้เหมือนกับต้นแบบ ซึ่งอาจเป็นหนึ่ง สอง หรือสาม ซึ่ง วิธีการนี้เป็นการลอกแบบการสร้างเด็กแฝดในธรรมชาติ ในส่วนของวิธีการคือ การ นำอาเซลล์ 1 หรือมากกว่า 1 ออกมาจากตัวอ่อน (ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว) จาก นั้นใช้เทคนิคการกระตุ้นให้เซลล์ดังกล่าวพัฒนาขึ้นมาเป็นตัวอ่อนตามที่ต้อง การ ซึ่งวิธีการนี้ใช้กันในการสร้างสัตว์โคลนนิ่งหลายสายพันธุ์
1.2 ดีเอ็นเอ โคลนนิ่ง (Deoxyribonucleic acid or DNA cloning) หรือการแทน ที่นิวเคลียสของเซลล์ เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อการจำลองสัตว์ที่มีชีวิตอยู่และ เจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งแกะที่ชื่อ “ดอลลี่” ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคนิค นี้ ซึ่งวิธีการคือ การนำเอาดีเอ็นเอบางส่วนออกมาจากไข่ของสัตว์ตัว เมีย แล้วแทนที่ดีเอ็นเอที่ได้จากสัตว์ต้นแบบ ซึ่งโตเต็มที่แล้ว จากนั้นใช้ วิธีกระตุ้น แล้วนำไปฝังไว้เพื่อให้พัฒนาขึ้นมาในสัตว์ที่เป็นแม่ วิธีการ นี้ยังไม่มีการทดลองในมนุษย์ แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถสร้างตัวอ่อนของ คนที่เติบโตขึ้นมาเหมือนคนต้นแบบได้
2. การโคลนนิ่งเพื่อการรักษา (Therapeutic cloning)
เป็นการโคลนนิ่งแบบเดียวกันกับดีเอ็นเอแต่มีส่วนแตกต่างกันคือ จะไม่มีการ ปล่อยให้ไข่ที่ถูกแทนที่ดีเอ็นเอแล้ว เติบโตขึ้นเป็นสัตว์หรือคนเต็มตัว แต่ จะใช้ประโยชน์จากการพัฒนาของไข่ ที่ถูกแทนที่ดีเอ็นเอและถูกกระตุ้น แล้ว ซึ่งจะเป็นการสร้างสเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดขึ้น มา ด้วยการแยกสเต็มเซลล์ออกมาเพื่อพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะหนึ่ง อวัยวะใดของคนเต็มรูปแบบ สำหรับนำไปปลูกถ่ายให้กับเจ้าของสเต็มเซลล์ต่อ ไป ในขณะที่ตัวอ่อนซึ่งถูกแยกสเต็มเซลล์ออกมาแล้วจะถูกทำลาย

ตอบ 4
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิค คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิมตัวไปด้วยน้ำ เนื่องจากสูตรเคมีอย่างง่ายก็คือ (C•H2O)n ซึ่ง n≥3 หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไรด์
คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักซึ่งให้พลังงานเท่ากับ โปรตีน คือ 4 กิโลแคลลอรี่/1 กรัม ประกอบด้วย C คาร์บอน H ไฮโดรเจน และ O ออกซิเจน เป็นอัตรส่วน m:2n:n คาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3อย่างคือ
1.monosaccharide(น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ) ได้แก่ glucose , fructose , galactose
2.disaccharides(น้ำตาลโมเลกุลคู่) ได้แก่ maltose , lactose , sucrose
3.polysaccharides(โพลีแซคคาไรด์ ) ได้แก่ stuch , glycogen , cellulose


ตอบ 4
ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)
ได้แก่พวก สาหร่ายสีน้ำตาล
แหล่งที่พบ ในน้ำเค็ม
ลักษณะ
1. สาหร่ายในไฟลัมพีโอไฟตา เรียกโดยทั่วไปว่าสาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) ทั้งนี้เพราะมีรงควัตถุที่ทำให้เกิดสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทีน (Fucoxanthin) อยู่มากกว่าคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี สาหร่ายสีน้ำตาลมีมากในทะเลตามแถบชายฝั่งที่มีอากาศเย็น มีเพียง 35 จีนัสที่พบในน้ำจืด สาหร่ายสีน้ำตาลมักเรียกชื่อทั่วไปว่า sea weed เพราะเป็นวัชพืชทะเล
2. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสและกรดอัลจินิก (alginic acid) ซึ่งสามารถสกัดสารอัลจิน (algin) มาใช้ประโยชน์ได้
3. รูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่มองเห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมีรูปร่างเป็นสายยาวแตกกิ่งก้าน เช่น Ectocarpus บางชนิดมีรูปร่างเป็นแผ่นแผ่แบนหรือคล้ายใบไม้โบกไหวอยู่ในน้ำ เช่น Laminaria บางชนิดคล้ายต้นปาล์มขนาดเล็กเรียกว่า Sea palm บางชนิดคล้ายต้นไม้เล็ก ๆ เช่น Sargassum หรือสาหร่ายนุ่น หรือรูปร่างคล้ายพัด เช่น Padina
4. สาหร่ายสีน้ำตาลมีหลายเซลล์ พวกที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า เคลป์ (Kelp) ซึ่งอาจมีความยาว 60-70 เมตร เช่น Macrocystis , Nereocystis พวกที่มีขนาดใหญ่มักมีลักษณะเหมือนพืชชั้นสูงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
4.1 โฮลด์ฟาสต์ (Haldfast) คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นราก สำหรับยึดเกาะแต่ไม่ได้ดูดแร่ธาตุเหมือนพืชชั้นสูง โฮลด์ฟาสต์ของพวกนี้สามารถแตกแขนงได้มาก และยึดเกาะได้แข็งแรง
4.2 สไตป์ (Stipe) หรือคอลลอยด์ (Colloid) คือส่วนที่อยู่ถัดจากรากขึ้นมาทำหน้าที่คล้ายลำต้น
4.3 เบลด (Blade) หรือลามินา (Lamina) หรือฟิลลอยด์ (Phylloid) คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นใบ บางชนิดมีถุงลม (air bladder หรือ Pneumatocyst) อยู่ที่โคนใบเพื่อช่วยพยุงให้ลอยตัวอยู่ได้ในน้ำ จากลักษณะดังกล่าวจึงถือกันว่าสาหร่ายสีน้ำตาลมีวิวัฒนาการสูงสุดในบรรดา สาหร่ายด้วยกัน (ยกเว้นสาหร่ายไฟ)
5. ส่วนประกอบของผนังเซลล์ เซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาลประกอบด้วย
5.1 ผนังเซลล์ มี 2 ชั้น ชั้นในเป็นพวกเซลลูโลส ชั้นนอกเป็นสารเมือก กรดอัลจินิกซึ่งจะอยู่ที่ผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ โดยมีประมาณถึง 24% ของน้ำหนักแห้ง กรดอัลจินิกนี้เมื่อสกัดออกมาจะอยู่ในรูปของเกลืออัลจิเนต สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีคุณสมบัติเป็นตัวทำให้เกิดอิมัลชัน ( Emulsifying agent) และเป็นตัวคงรูป (Stabillzing agent)
5.2 คลอโรพลาสต์ มีเพียง 1 อัน หรือมีจำนวนมากในแต่ละเซลล์ขึ้นอยู่กับชนิด คลอโรพลาสต์ จะมีลักษณะกลมแบน (Platelike) หรือเป็นแฉกรูปดาว ไพรีนอยด์เกิดเดี่ยว ๆ เป็นแบบมีก้านติดอยู่ข้าง ๆ คลอโรพลาสต์ โดยมีผนังคลอโรพลาสต์หุ้มรวมไว้
5.3 นิวเคลียสมีเพียง 1 อัน ในแต่ละเซลล์
5.4 อาหารสะสมมี 3 ชนิด ได้แก่
1. โพลีแซกคาไรด์ที่ละลายน้ำ ได้แก่ ลามินาริน (Laminarin) หรือลามินาเรน (Laminaran) มีปริมาณตั้งแต่ 2-34 % ของน้ำหนักแห้ง
2. แมนนิตอล (Mannitol) พบเฉพาะในสาหร่ายสีน้ำตาลเท่านั้น
3. น้ำตาลจำพวกซูโครส (Sucrose) และกลีเซอรอล (Glycerol)
6. การสืบพันธุ์ สาหร่ายสีน้ำตาลมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) คล้ายกับพืช
ความสำคัญ
1. Laminara ใช้ทำปุ๋ยโปตัสเซียม
2. Laminara และ Kelp สกัดได้จากสารแอลจิน (algin) ทำไอศกรีม พลาสติ
สติก สบู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น