หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงานคะแนนเก็บทั้งหมด 1750 คะแนน
ข้าพเจ้าทำได้ 1240 คะแนน

และมีจำนวนลายเซ็นและแสตม์ 3 ครั้ง

ผลการเรียนรู้ 30
ข้อตกลง 30
1-5พ.ย 180
5-12พ.ย 110
15-19พ.ย 150
22-26พ.ย 70
29พ.ย-3ธ.ค 200
13-17ธ.ค 120
20-24ธ.ค 100
27-30ธ.ค 0
4-7ม.ค 0
10-14ม.ค 80
17-21ม.ค 80
29-25 70
31-4ก.พ 90
7-11ก.พ 0
คุณงามความดี/ความสามารถพิเศษ
-เป็นตัวแทนโรงเรียนไปแข่งขันตอบปัญหากฏหมาย
-เป็นตัวแทนโรงเรียนไปแข่งกีฬาแฮนด์บอล ได้ที่ 1 ถ้วยดิวิชั่น1 ที่ ร.ร. ส.ส.ป

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่17-21 มกราคม 2554

17-21 มกราคม 2553

ตอบ 2
อธิบาย : ปฏิกิริยา เคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิด สารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติ ทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้น เชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยา นิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิ กิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการ สังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัว เซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี


ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5




ตอบ 4
อธิบาย :

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยา เคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสาร ละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ
เขียน เป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน


เขียน เป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
K = โพแทสเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
KCl = โพแทสเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
เขียน เป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
NaCl = โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)
H2 = ไฮโดรเจน


แต่ถ้าเปลี่ยนสารตั้งต้นของ ปฏิกิริยาจากกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นน้ำ (H2O) สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้น เป็นผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
เขียน เป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยา ได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
H2O = น้ำ
Mg(OH)2 = แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน


เขียน เป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม
H2O = น้ำ
NaOH = โซเดียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสาร ประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Ca = แคลเซียม
H2O = น้ำ
Ca(OH)2 = แคลเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน
ประเภทของปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยา เคมีจำแนกได้ 3 ประเภทดังนี้
1. ปฏิกิริยาการรวมตัว (combination) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการรวมตัวของสารโมเลกุลเล็ก รวมกันเป็นสารโมเลกุลใหญ่ หรือเกิดจากการรวมตัวของธาตุซึ่งจะได้สารประกอบ ดังเช่น

2. ปฏิกิริยาการแยกสลาย (decomposition) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการแยกสลายของสารโมเลกุลใหญ่ ให้ได้สารโมเลกุลเล็กลง ดังเช่น

3. ปฏิกิริยาการแทนที่ (replacement) เป็นปฏิกิริยาการแทนที่ของสารหนึ่งเข้าไปแทนที่อีก สารหนึ่ง ดังเช่น
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด ปฏิกิริยาเคมี หมายถึงสิ่งที่จะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ได้แก่
1. ความเข้มข้น สาร ละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารละลายที่เจือจาง
2. พื้นที่ผิว ของ แข็งที่มีพื้นที่ผิวมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่า
3. อุณหภูมิ ที่ ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
4. ตัวเร่งปฏิกิริยาหรือตัวคะตะลิสต์ (catalyst) เป็นสารชนิดต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น
ปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวันและผลต่อสิ่งแวดล้อม
ปฏิกิริยาเคมีเกิดจากสารทำ ปฏิกิริยากันแล้วได้สารใหม่ ซึ่งสารนั้นคือผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ รอบๆ ตัวเรามีปฏิกิริยาเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีทั้งสิ้น จึงเห็นได้ว่าปฏิกิริยาเคมีมีความสำคัญต่อชีวิตอย่างยิ่ง
ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่พบใน ชีวิตประจำวัน
1. ฝนกรด เมื่อ เกิดฝนตกลงมา น้ำ (H2O) จะละลายแก๊สต่างๆ ที่อยู่ในอากาศตามธรรมชาติ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
เมื่อน้ำละลายแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ในอากาศ จะทำให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) ดังสมการ
เมื่อ น้ำฝนที่มีสภาพเป็นกรดไหลไปตามภูเขาหินปูนก็จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียม คาร์บอเนต (CaCO3) ในหินปูน และได้สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Ca(HCO3)2) ออกมา ดังสมการ
เมื่อ สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตไหลซึมไปตามเพดานถ้ำ น้ำจะระเหยไปเหลือแต่หินปูนเกาะจนกลายเป็นหินย้อยที่เพดานถ้ำ ถ้าสารละลายนี้หยดลงบนพื้นถ้ำ เมื่อน้ำระเหย ไปจะกลายเป็นหินงอกต่อไป
สรุปปฏิกิริยาเคมีในการเกิดหิน ย้อยและหินงอก

ตอบ 4
อธิบาย : แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ

1. แหล่งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

1.) ระบบการคมนาคมขนส่ง รถยนต์นับว่าเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ สารมลพิษที่ระบายท่อไอเสียเป็นส่วนที่มีอันตรายและมีปริมาณมากที่สุด ซึ่งมาจากการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์ ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น ออกซิแดนท์ สารอะโรมาติก- ไฮโดรคาร์บอน เขม่า ก๊าซไนตริกออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ รวมทั้งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

2) การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในบ้าน การประกอบกิจกรรมประจำวันภายในบ้าน มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อนำมาพลังงานความร้อนไปใช้ในประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การหุงต้มอาหาร เครื่องทำความร้อนในบ้าน

3) กิจการค้า สถาบัน และหน่วยงานของรัฐ การประกอบกิจการค้าหรือการดำเนินงานของสถาบันและหน่วยงานของรัฐ


4) โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงถลุงและหลอมโลหะ อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมผลิตอาหาร ฯลฯ ก่อให้เกิดสิ่งเจือปนในอากาศได้แตกต่างกันทั้งปริมาณและคุณภาพ โ สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมาก ได้แก่ ฝุ่นละออง เขม่า ควัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และก๊าซพิษอื่นๆ อีกหลายชนิด


5) โรงไฟฟ้า การที่โรงงานไฟฟ้าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าส่งออกมาใช้ได้นั้น จำเป็นต้องมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหินชนิดต่าง ๆ และเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ เพื่อให้เกิดพลังงานความร้อนเพื่อนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงดังกล่าวทำให้เกิดสารมลพิษทางอากาศที่สำคัญ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และอนุภาคของมลสารต่าง ๆ


6) จากการเผาขยะและสิ่งปฏิกูล ซึ่งบางแห่งอาจจะมีการกำจัดขยะมูลฝอยโดยการเผาก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศ ได้แก่ สารประกอบไฮโครคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของกำมะถันคาร์บอนมอนอกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น


2. แหล่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ


1) ภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดการระเบิดของภูเขาไฟจะมีเถ้าถ่านและควันถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ
เป็นจำนวนมาก ซึ่งอนุภาคสารเหล่านี้อาจล่องลอยขึ้นไปได้สูงมากเป็นหมื่นฟุตและคงอยู่ใน อากาศ


2) ไฟป่า ควันที่เกิดจากไฟป่าเป็นตัวการที่เพิ่มปริมาณมลพิษให้กับอากาศได้มากอย่าง หนึ่ง แต่ก็จำกัดขอบเขตอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ป่าเท่า นั้น
3) อนุภาคมลสารต่าง ๆ จากดิน ลมและพายุสามารถพัดพาเอาอนุภาคมลสารจากผิวดินให้ขึ้นไปแขวนลอยอยู่ใน บรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผิวดินมีลักษณะที่ไม่จับกันแน่น เช่น ดินที่เพิ่งผ่านการคราดไถ ดินที่ปราศจากต้นไม้ใบหญ้าปกคลุม หรือดินที่ถูกกระบวนการอื่น ๆ รบกวน


4) ละอองเกสรจากพืช เกิดจากวัชพืช หญ้า และต้นไม้ มีลักษณะเป็นอนุภาคขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา สามารถลอยในบรรยากาศได้ ละอองเกสรเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้


5) จุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และสปอร์ ซึ่งพบได้เสมอในอากาศ โดยเฉพาะเชื้อราที่พบในอากาศที่ทำให้เกิดโรคได้หลาย ชนิด


6) สารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยผุพัง อินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่ถูกทิ้งหรือทับถมกันอยู่ เช่น ซากสัตว์ ขยะมูลฝอย เศษอาหาร ฯลฯ จะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียในดิน การย่อยสลายนี้แบคทีเรียบางชนิดจะทำให้เกิดก๊าซต่าง ๆ เช่น แอมโมเนีย (NH3) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งมีกลิ่นเหม็นเป็นที่รบกวนแก่


ปัญหาที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ


1) ปัญหาเรื่องสุขภาพของมนุษย์ สารมลพิษทางอากาศที่มนุษย์รับเข้าไปในร่างกาย หากรับไปในปริมาณมากในทันทีทันใดก็จะก่อให้เกิดผลกระทบทันที และหากรับในปริมาณน้อย จะเข้าไปสะสมในร่างกาย


2) ปัญหาเรื่องความสกปรกจากการมีฝุ่นละอองและมลสารในอากาศ ที่เกินจากสภาพธรรมชาติทำให้สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสิ่งก่อสร้างเกิดความสกปรก


3) ปัญหาทางเศรษฐกิจ จากความสกปรกทางอากาศไม่ว่าในเรื่องฝุ่นละอองหรือมลสารอื่น ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและทำความสะอาด


4) ปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค การที่มลพิษทางอากาศทำให้บ้านเรือนโดยเฉพาะส่วนหลังคาสกปรก เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้างลงสู่ภาชนะรองรับ


5) ปัญหาต่อพืชและผลผลิตทางการเกษตร มลพิษทางอากาศบางชนิดจะทำลายโครงสร้างภายนอกและภายในของใบทำให้ใบมีสีซีด (คลอโรฟีลล์ถูกทำลาย) ทำให้ต้นไม้พืชผักเหี่ยวเฉา


6) ปัญหาการเกิดฝนกรด สารมลพิษทางอากาศที่ปล่อยออกมาเมื่อรวมกับน้ำฝนแล้วทำให้น้ำฝนมีความเป็นกรด เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (เกิดกรดไนตริกและกรดกำมะถัน) ฝนกรดนี้จะทำลายสิ่งก่อสร้างให้สึกกร่อน ป่าไม้ถูกทำลาย แหล่งน้ำเมื่อเป็นกรดเพิ่มขึ้นจะทำให้สิ่งมี-ชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ เกิดผลกระทบต่อเนื่องกับห่วงโซ่อาหาร


7) ปัญหาปรากฏการณ์โลกร้อน


8) ปัญหาทัศนวิสัย
ที่มา : http://supattraja.igetweb.com/?mo=3&art=445242


ตอบ 1


อธิบาย ;
อนุภาคมูลฐานของอะตอม
ทุกอะตอมประกอบด้วยอนุภาคที่สำคัญ คือ โปรตอน, นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยมีโปรตอนกับนิวตรอนอยู่ภายใน นิวเคลียส นิวเคลียสนี้จะครอบครองเนื้อที่ภายในอะตอมเพียงเล็กน้อย และมีอิเล็กตรอน วิ่งรอบๆนิวเคลียสด้วยความเร็วสูง คล้ายกับมีกลุ่มประจุลบปกคลุมอยู่โดยรอบ
อิเล็กตรอน(Electron) สัญลักษณ์ e- มีแระจุลบ และมีมวลน้อยมาก
โปรตอน สัญลักษณ์ p+ มีประจุเป็นบวก และมีมวลมากกว่า อิเล็กตรอน (เกือบ 2,000 เท่า)
นิวตรอน สัญลักษณ์ n มีประจุเป็นศูนย์ และมีมวลมากพอๆกับโปรตอน
หมายเหตุ อนุภาคนิวตรอน ค้นพบโดย เจมส์ แซควิก (James Chadwick) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ(พ.ศ.2475)

เลขอะตอม,เลขมวลและสัญลักษณ์ นิวเคลียร์
1. จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเรียกว่า เลขอะตอม(atomic number, Z)
2. ผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนเรียกว่า เลขมวล(mass number, A)
A = Z + N โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน
(เลขเชิงมวลจะเป็นจำนวนเต็มและมีค่าใกล้เคียงกับมวลของอะตอม)
การเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์
เขียน(A)ไว้ข้างบนด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ
เขียน(Z)ไว้ข้างล่างด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ
X = สัญลักษณ์ของธาตุ



ที่มา : http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/atommodel040.html


ตอบ 2
อธิบาย :
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
1. อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับพลังงานของ อิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K <>หรือ ชั้นที่ 1<>
2. ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2n2 เมื่อ n = เลขชั้น เลข ชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7
ตัวอย่าง จำนวน e- ในระดับพลังงานชั้น K มีได้ ไม่เกิน 2n2 = 2 x 12 = 2x1 = 2
จำนวน e-ในระดับพลังงานชั้น N มีได้ ไม่เกิน 2n2
= 2 x 42 = 2x16 = 32
3. ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย และมีชื่อเรียกชั้นย่อย ดังนี้ s , p , d , f
ในแต่ละชั้นย่อย จะมีจำนวน e-ได้ ไม่เกิน ดังนี้
ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e- ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e- ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว
เขียนเป็น s2 p6 d10 f14

ตอบ 3
อธิบาย :
การ จัดธาตุเป็นหมวดหมู่ของนักเคมียุคต่าง ๆ

ตารางธาตุ หมายถึง ตารางที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมา เพื่อแบ่งธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายแก่การศึกษา โดยแบ่งธาตุทั้งหมดออกเป็นหมู่และคาบ

ธาตุที่อยู่ในแนวดิ่งเดียวกัน เรียกว่า อยู่ในหมู่เดียวกัน
ธาตุที่อยู่ในแนวนอนเดียวกัน เรียกว่า อยู่ในคาบเดียวกัน
ในระหว่างปี พ.ศ. 2346 ถึง 2456 มีธาตุต่าง ๆที่พบในธรรมชาติประมาณ 63 ธาตุ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามจัดธาตุเหล่านี้ให้เป็นหมวดหมู่หรือเป็นตาราง ธาตุโดยในช่วงแรก ๆ นั้นแบ่งธาตุออกเป็นหมวดหมู่โดยอาศัยสมบัติของธาตุ ทั้งนี้ได้จากการสังเกตพบความคล้ายคลึงกันของสมบัติของธาตุเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้นำมาจัดเป็นตารางธาตุได้ เช่นแบ่งกลุ่มโดยอาศัยสมบัติเกี่ยวกับโลหะ-อโลหะ โดยอาศัยสมบัติของความเป็นกรด-เบสของธาตุ เป็นต้น ต่อมาเมื่อหามวลอะตอมของธาตุได้ จึงใช้มวลอะตอมมาประกอบในการจัดตารางธาตุ จนในปัจจุบันจัดตารางธาตุโดยอาศัยการจัดเรียงอิเล็กตรอน

ตารางธาตุของเดอเบอไรเนอร

การจัดตารางธาตุนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1817) โดย โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์ (Johaun Dobereiner) นักเคมีชาวเยอรมัน ได้นำธาตุต่าง ๆ ที่พบในขณะนั้นมาจัดเรียงเป็นตารางธาตุ โดยนำธาตุต่าง ๆ ที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันมาจัดไว้ในหมู่เดียวกัน หมู่ละ 3 ธาตุ เรียงตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากในแต่ละหมู่ มวลอะตอมของธาตุที่อยู่กลางจะเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของธาตุที่เหลืออีก 2 อะตอม เรียกว่ากฎชุดสาม (law of triads หรือ Dobereine’ s law of triads)
ตารางธาตุของนิวแลนด์
ในปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) จอห์น นิวแลนด์ (John Newlands) นักเคมีชาวอังกฤษได้พบว่าเมื่อนำธาตุต่าง ๆ มาเรียงลำดับตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก ให้เป็นแถวตามแนวนอน สมบัติของธาตุจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นทุก ๆ ของธาตุที่ 8
เช่น ถ้าเริ่มต้นจากธาตุ Li แล้วเรียงลำดับมวลอะตอมไปถึงธาตุที่ 8 จะตรงกับ Na ซึ่ง Li และ Na มีสมบัติต่าง ๆ คล้ายคลึงกัน
เรียกกฎการจัดตารางธาตุของนิวแลนด์ส์ว่า law of octaves หรือ Newlands’ law of octaves
อย่างไรก็ตาม กฎนี้ไม่เป็นที่ยอมรับกัน เนื่องจากไม่สามารถอธิบายว่าเหตุใดมวลอะตอมจึงมาเกี่ยวข้องกับความคล้ายคลึง ดังกล่าว นอกจากกฎนี้แล้วก็ยังใช้ได้กับ ธาตุที่มีมวลอะตอมต่ำ ๆ ไม่เกิน 20 ธาตุแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจะใช้กฎนี้ไม่ได้
ตารางธาตุ ของเมนเดเลเอฟ
ในระหว่างปี พ.ศ. 2412 - 2413 (ค.ศ. 1269 - 1270) ยูลิอุส ไมเออร์ (Julius Meyer) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน และดิมิทรี เมนเดเลเอฟ (Dimitri Mendelejev) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้พบในเวลาใกล้เคียงกันว่าสมบัติต่าง ๆ ของธาตุมีส่วนสัมพันธ์กับมวลอะตอมของธาตุกล่าวคือ “ถ้าเรียงลำดับธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก จะพบว่าธาตุ ๆ ต่าง จะมีสมบัติคล้ายคลึงกันเป็นช่วง ๆ ” ซึ่งเมเดเลเอฟได้ตั้งเป็นกฎเรียกว่า “กฎพิริออดิก” หรือกฎตารางธาตุ (Periodic law) และพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2412 ก่อนที่ไมเออร์จะพิมพ์เผยแพร่ครั้งหนึ่ง ดังนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เมนเดเลเอฟ จึงเรียกตารางนี้ว่า “ตารางพีริออดิกของเมนเดเลเอฟ” หรือตารางธาตุของเมนเดเลเอฟ (Mendelejev’ s periodic table)
เกณฑ์ที่ สำคัญที่เมนเดเลเอฟใช้คือ จัดธาตุที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันที่ปรากฏซ้ำกันเป็นช่วง ๆ ให้อยู่ในหมู่หรือในแนวตั้งเดียวกัน และพยายามเรียงลำดับมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก ในกรณีที่เรียงตามมวลอะตอมแล้วสมบัติของธาตุไม่สอดคล้องกัน ก็พยายามจัดให้เข้าหมู่โดยปล่อยให้ช่องว่างเว้นไว้ในตารางซึ่งเมนเดเลเอฟคิด ว่า ช่องว่างเหล่านั้นน่าจะเป็นตำแหน่งของธาตุซึ่งยังไม่มีการค้นพบในขณะนั้น ในการจัดตารางธาตุนอกจากจะใช้มวลอะตอมแล้ว ยังใช้สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของสารประกอบอื่น ๆ นอกเหนือจากสารประกอบคลอไรด์ และออกไซด์มาประกอบการพิจารณาด้วย
ช่องว่างที่ เว้นไว้คือตำแหน่งของธาตุที่ยังไม่พบในสมัยนั้น เนื่องจากตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุสัมพันธ์กับสมบัติของธาตุ ทำให้เมนเดเลเอฟสามารถทำนายสมบัติของธาตุไว้ล่วงหน้าได้ด้วย โดยการศึกษาสมบัติเกี่ยวกับจุดหลอมเหลว จุดเดือด ความถ่วงจำเพาะ และความร้อนจำเพาะ รวมทั้งสมบัติเกี่ยวกับสารประกอบคลอไรด์ และออกไซด์
ตัวอย่างเช่น ธาตุที่อยู่ในช่องว่างใต้ Si เมนเดเลเอฟเรียกชื่อว่าธาตุเอคาซิลิคอน อีก 15 ปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) เคลเมนส์ วิงค์เลอร์ (Clemens Winkler) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจึงได้พบธาตุนี้และเรียกชื่อว่า ธาตุเจอร์เมเนียม (Ge) นั่นเอง
นอกจากธาตุเอ คาซิลิคอนแล้ว ยังมีธาตุอื่นที่เมนเดเลเอฟ ได้เรียกชื่อไว้ล่วงหน้า เช่น
ธาตุที่อยู่ ใต้ B เรียกว่า เอคาโบรอน
ธาตุที่อยู่ ใต้ Al เรียกว่า เอคาอะลูมิเนียม
ซึ่งปัจจุบัน ก็คือธาตุ Se และ Ga ตามลำดับ
การจัดตารางธาตุของเมนเดเลเอ ฟนั้น ถ้ายึดหลักการเรียงตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามากอย่างเคร่งครัด จะทำให้ธาตุบางธาตุซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันอยู่ในหมู่เดียวกัน ทำให้ต้องยกเว้นไม่เรียงตามมวลอะตอมบ้างแต่เมนเดเลเอฟก็ไม่สามารถให้เหตุผล ได้ว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงต้องเรียงลำดับธาตุเช่นนั้น เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอมไม่มากพอ นักวิทยาศาสตร์ต่อ ๆ มาจึงสร้างแนวคิดใหม่ว่า ตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุไม่ควรขึ้นอยู่กับมวลอะตอม แต่ควรจะขึ้นอยู่กับสมบัติอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับมวลอะตอม


ตารางธาตุของเฮนรี โมสลีย์

เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้แก้ไขตารางธาตุของเมนเดเลเอฟให้ถูกต้องขึ้น โดยการพบว่าเลขอะตอม หรือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุ มีความสัมพันธ์กับสมบัติของธาตุมากกว่ามวลอะตอม ทำให้สอดคล้องกับกฎพีริออดิกมากกว่า สามารถสร้างตารางธาตุได้โดยไม่ต้องสลับที่ธาตุบางธาตุเหมือนกรณีการจัดเรียง ตามมวลอะตอม
ประมาณปี พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) โมสลีย์จึงเสนอตารางธาตุใหม่โดยเรียงตามเลขอะตอมจากน้อยไปหามาก และจัดธาตุที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันให้อยู่ในหมู่เดียวกัน และกำหนดกฎตารางธาตุขึ้นใหม่เป็น “สมบัติต่าง ๆ ของธาตุในตารางธาตุขึ้นอยู่กับเลขอะตอมของธาตุ”

ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/virtual2/periodic/periodic2/table60.html

ตอบ 3
อธิบาย : หลักเกณฑ์ในการจัดอิเล็กตรอนเข้าสู่ระดับพลังงานหลักของอะตอม1. ต้องทราบว่าอะตอมของธาตุนั้นมีอิเล็กตรอน กี่อิเล็กตรอน โดยหาจากเลขอะตอม(Z)
2. ต้องจัดอิเล็กตรอนเข้าไปในระดับพลังงานที่ n = 1 ให้เต็มก่อน เมื่อเต็มแล้วจึงจัดเข้าสู่ระดับพลังงาน n = 2 n = 3 ไป ตาม ลำดับ โดยจำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้มากที่สุดในแต่ละระดับพลังงานเท่ากับ 2n2 แต่ระดับพลังงานไม่เกิน n = 4
3. จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดมีได้ไม่เกิน 8 อิเล็กตรอน และเรียกอิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นนอกสุดนี้ว่าเวเลนซ์ อิเล็กตรอน4. จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ระดับพลังงานของอะตอมมีได้ไม่เกิน 18 อิเล็กตรอน

ตอบ 2
อธิบาย :
ปฏิิกิริยาระหว่างโลหะหรืออโลหะกับแก๊ส ออกซิเจน


ธาตุโลหะหรืออโลหะเมื่อสัมผัสกับ อากาศหรือเมื่อถูกความร้อนจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน
ในอากาศ ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่เป็น สารประกอบออกไซด์
ตัวอย่าง 1 เผาคาร์บอนในอากาศ จะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
เขียนสมการได้ดังนี้
หรือ
ตัวอย่าง 2 เผาโลหะโซเดียม ในอากาศ จะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน ได้ โซเดียมออกไซด์
ที่มา : http://www.thainame.net/project/chemequation/Loha+Oxigen.html



ตอบ 3


อธิบาย :
การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
การที่ธาตุกัมมันตรังสีแผ่รังสีได้นั้นเป็นเพราะนิวเคลียสของ ธาตุไม่เสถียร เนื่องจากมีพลังงานส่วนเกินอยู่ภายใน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องถ่ายเทพพลังงานส่วนเกินนี้ออกไป เพื่อให้นิวเคลียสเสถียรในที่สุด พลังงานส่วนเกินที่ปล่อยออกมาอยู่ในรูปของอนุภาคหรือรังสีต่าง ๆ เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมาและไอโชโทปที่เสถียร จากการศึกษาไอโชโทปของธาตุจำนวนมาก พบว่าไอโชโทปที่นิวเคลียสมีอัตราส่วนระหว่าจำนวน นิวตรอนต่อโปรตอนไม่เหมาะสม คือนิวเคลียสที่มีจำนวนนิวตรอนมาก หรือ น้อยกว่าจำนวนโปรตอนมักจะไม่เสถียรจะมีการแผ่รังสีออกมาจนได้ไอโชโทปของธาตุ ใหม่ที่เสถียรกว่า นอกจากนั้นยังพบว่าจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่เป็นจำนวนคู่ หรือคี่ในนิวเคลียสนั้น มีความสัมพันธ์ กับความเสถียรภาพของนิวเคลียสด้วย กล่าวคือ ไอโชโทปของธาตุที่มีจำนวนโปรตอน และนิวตรอนเป็นเลขคู่ จะเสถียรกว่าไอโชโทปของธาตุที่มีจำนวนโปรตอนและนิวตอนเป็นเลขคี่เช่น 714N เป็นไอโซโทปที่เสถียร 715N พบว่า 714N มี จำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอน จึงเสถียรกว่า 715Nที่มีจำนวนโปรตอนไม่เท่ากับจำนวนนิวตรอน816O เป็นไอโซโทปที่เสถียรกว่า817O เพราะ 816O มีจำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอนเท่ากัน จึงเสถียรกว่า817O ที่มีจำนวนนิวตรอนเป็นเลขคี่ และจำนวนโปรตอนเป็นเลขคู่
ธาตุกัมมันตรังสี ในธรรมชาติ
ธาตุต่างๆที่พบใน ธรรมชาตินั้น ธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 83 ขึ้นไป ส่วนใหญ่สามารถแบ่งรังสีได้เช่น92238U 92235U 90232Th 86222Rn หรืออาจจะเขียนเป็น U-238, U-235, Th-232, Rn-222
นอกจาก ธาตุกัมมันตรังสีจะพบในธรรมชาติแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังสังเคราะห์ธาตุกัมมันตรังสีขึ้น
เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆอีกด้วย ซึ่งมีหลายวิธี แต่มีวิธีหนึ่งคือยิงนิวเคลียสของไอโซโทปที่เสถียรด้วยอนุภาคที่เหมาะสม และมีความเร็วสูง ได้ไอโซโทปของธาตุใหม่ที่เสถียร เช่น รัทเทอร์ฟอร์ด ได้ยิงนิวเคลียส N-14 ด้วยอนุภาคแอลฟา เกิด O-17
เขียนแผนภาพแทน คือ 14N( ) 17O ไอโซโทป817O ที่เสถียร พบในธรรมชาติ0.037%
การแผ่รังสีแอลฟา
เมื่อไอโซโทปกัมมันตรังสีให้อนุภาคแอลฟา นิวเคลียสของไอโซโทปเสีย 2 โปรตอน และ 2
นิวตรอน ดังนั้น ไอโซโทปกัมมันตรังสีจะเปลี่ยนไปเป็นธาตุอื่นที่มีเลขเชิงอะตอมต่ำกว่าเดิม 2 อะตอมและมีมวลต่ำกว่าเดิม 4 amu ตัวอย่าง เช่น เมื่อ 92238U ให้อนุภาคแอลฟา ผลที่เกิดขึ้นจะให้ 90234Th สมการ ของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้
92238U 24He+90234Th
จากสมการจะเห็นว่า ผลรวมของเลขเชิงอะตอมของด้านหนึ่งของสมการจะเท่ากันกับผลรวมของเลขเชิงอะตอม ของอีกด้านหนึ่งของสมการ หรือ 92=2+90 ส่วน ผลรวมของเลขมวลจะเท่ากันทั้ง 2 ด้านของสมการเช่น เดียวกันหรือ 238=4+234
การแผ่รังสีบีตา
การให้รังสีบีตาจะเกิดนิวเคลียสที่มีสัดส่วนของจำนวนนิวตรอน มากกว่าโปรตอน ตัวอย่างเช่น การแผ่รังสีบีตาของC-14 ไปเป็น N-14 C-14 ให้อนุภาคบีตา อนุภาคบีตาหรืออิเล็กตรอนเชื่อกันว่ามาจากนิวเคลียส เมื่อนิวตรอนสลายตัวไปเป็นโปรตอน 11H และอิเล็กตรอนดังนี้
01n----------> 11H+-10e
เมื่ออิเล็กตรอนเกิดขึ้น อิเล็กตรอนจะถูกปล่อยออกจากนิวเคลียสด้วยความเร็วสูงแต่โปรตอนยังคงอยู่ผล ที่เกิดขึ้นทำให้นิวเคลียสมีจำนวนนิวตรอนลดลงไป 1 นิวตรอน และมีโปรตอนเพิ่มขึ้นอีก 1 โปรตอน ในกรณี C-14 ให้อนุภาคบีตา สมการ นิวเคลียร์จะเป็นดังนี้
614C------- >714 N+-10e
จากสมการจะเห็นว่าเลขเชิงอะตอมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย และเลขมวลมีค่าคงที่
การแผ่รังสีแกมมา
การให้ อนุภาคแอลฟาหรืออนุภาคอย่างใดอย่างหนึ่ง มักจะติดตามด้วยการแผ่รังสีแกมมา รังสีแกมมาถูกปล่อยออกมาเมื่อนิวเคลียสเปลี่ยนจากสถานะเร้าหรือสถานะพลังงาน สูง ไปยังสถานะที่มีพลังงานต่ำกว่าเนื่องจากรังสีแกมมาไม่มีทั้งประจุและมวล การแผ่รังสีแกมมาจึงไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเลขมวลหรือเลขเชิงอะตอมของ นิวเคลียสอย่างใดอย่างหนึ่ง รังสีแกมมานำไปใช่รักษาโรค เป็นรังสีแกมมาที่มาจากเทคนิเทียม
4399Tc------> 4399Tc+y
เมื่อ Ra-226เปลี่ยนไปเป็น Rn-222 โดยการแผ่รังสีแอลฟานั้น Rn-222 ไม่ เสถียรภาพจึงแผ่รังสีแกมมาออกมา

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 10-14 มกราคม 2554


ตอบ 1
อลูมิเนียม
กระป๋องอะลูมิเนียมทุกใบสามารถส่งคืนกลับโรงงาน
เพื่อไปผลิตเป็นกระป๋องใหม่ได้
โดยไม่มีขีดจำกัดจำนวนครั้งของการผลิต เมื่อกระป๋องอะลูมิเนียมถูกส่งเข้าโรงงานแล้ว
จะถูกบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วหลอมให้เป็นแท่งแข็ง จากนั้นอะลูมิเนียมแท่งจะถูกนำไปรีด
ให้เป็นแผ่นแบนบางเพื่อส่งต่อไปยังโรงงานผลิตกระป๋อง เพื่อผลิตเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมใหม่
การ Recycle กระป๋องอลูมิเนียม
จะทำให้ประหยัดพลังงานความร้อนได้ถึง 20 เท่า และช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ถึง ร้อยละ 95
ของการผลิตกระป๋องใหม่โดยใช้อะลูมิเนียมจากธรรมชาติ การผลิตกระป๋องแคนใหม่ 1 ใบ จะต้องใช้น้ำมันถึงครึ่งกระป๋อง
หรือการใช้พลังงานเท่ากับการเปิดโทรทัศน์ดูถึง 17 ชั่วโมง
ซึ่งถ้านำไป Recycle จะได้กระป๋อง Recycle 20 ใบ
โดยกระป๋องแคน Recycle จะใช้พลังงานเพียง 5% ของพลังงานที่ผลิตกระป๋องใหม่จากแร่บอกไซด์
และประหยัดพลังงานลงได้เท่ากับการเปิดโทรทัศน์ดู 3 ชม. เท่านั้น
กระดาษ
ในการย่อยสลายกระดาษบางชนิดย่อยสลายได้ยากมาก
เนื่องจากมีวัสดุอื่นๆ เคลือบหรือปะปนมาก
เช่น ถ้วยกระดาษเคลือบ กระดาษห่อของขวัญที่เคลือบมันหรือปนฟอยล์ กล่องนมที่มีชั้นของพลาสติก
และฟอยล์ที่ต้องใช่เวลากว่า 10 ปี ในการย่อยสลาย และไม่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการ Recycleได้้
เพราะมีปริมาณพลาสติกหรือฟอยล์ปนอยู่มาก กระดาษเหล่านี้จึงกลายเป็นภาระของสิ่งแวดล้อมต่อไป กระดาษที่ติดกาวหรืออาบมันก็ไม่สามารถ Recycle ได้ เนื่องจากความร้อนจะทำให้สารเคลือบกระดาษละลาย แล้วไปอุดตันเครื่องจักรทำให้เกิดความเสียหาย
ในการผลิตกระดาษ 1 ตัน ใช้ต้นไม้ 17 ต้น
ใช้น้ำมัน 31,500 ลิตร
ใช้กระแสไฟฟ้า 4,100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
และใช้น้ำ 3,000,000 ลิตร
แต่ถ้าเราหันกลับมาใช้กระดาษ Recycle
เราจะใช้น้ำน้อยกว่า 100,000 ลิตร
ใช้พลังงานเพียง 50%
โดยไม่ต้องใช้ต้นไม้ใหม่เลย
เราสามารถนำกระดาษมา Recycle ใหม่ได้ 2-3 ครั้ง โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนเมื่อ Recycle ใหม่
เยื่อกระดาษจะสั้นลงเรื่อยๆ
จนถูกแยกออกไปเองในกระบวนการผลิต
ขณะเดียวกันก็เติมเยื่อใหม่ลงไปด้วย
กระดาษ Recycle จึงยังคงความแข็งแรงอยู่ได้
กระดาษกล่องเคลือบที่ใช้ทำกล่องผงซักฟอก ยาสีฟัน ฯลฯ
ใช้เยื่อกระดาษ Recycle 70%
สำหรับทำกระดาษชั้นในที่มีสีน้ำตาล
เพราะด้านในกล่องไม่เน้นความสวยงาม แต่ชั้นนอกสุดที่ต้องพิมพ์สีนั้นใช้กระดาษใหม่ 100% กระดาษเก่าที่นำมาใช้นั้นก็เป็นกระดาษกล่องเก่า
หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้
กระดาษสำนักงาน
หรือกระดาษปอนด์ขาวที่มาจากเยื่อใหม่
ปัจจุบันได้มีการนำไป Recycle
โดยนำไปผ่านกระบวนการกำจัดหมึก
และฟอกขาวให้สะอาด
ออกมาเป็นกระดาษทิชชูเนื้อหยาบ
หรือทิชชูที่มีสีชมพูนั่นเอง
แก้ว
โดยปกติแล้ว ทางโรงงานอุตสาหกรรมเศษแก้ว ต้องการเศษแก้วเก่ามาหลอมผสมกับแก้วใหม่อยู่แล้ว โดยใช้เศษแก้วเก่าในอัตรา 30-40%
เพราะนอกจากจะลดต้นทุนการผลิตแล้ว
ยังช่วยให้น้ำแก้วหลอมเหลวดีขึ้น
ใช้อุณหภูมิต่ำลง ทำให้เตาสึกหรอน้อยลงด้วย เป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของเตาหลอมด้วย
นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตแล้ว
การใช้เศษแก้วเพิ่มขึ้น 10%
จะช่วยประหยัดพลังงานได้ประมาณ 1%
โดยที่คุณภาพของแก้ว Recycle ยังคงทนต่อการกระแทกและใช้งานได้ดีเหมือนเดิมทุกประการ
พลาสติก
พลาสติกประเภทที่นิยมนำมารีไซเคิลอย่างแพร่หลาย
คือ โพลิโพรพิลีน (Polypropylene)
โพลิสไตรีน (Polystyene)
โพลิเอทิลีน (Polyethlene)(PET)
ไนลอน (Nylon) และ
พีวีซี (Polyvinylchloride)

คุณสมบัติและประเภท ลอยน้ำ การติดไฟ ลักษณะของเปลวไฟ กลิ่น
Polypropylene (PP) ลอย ติดไฟง่าย เปลวสีน้ำเงิน เหมือนขี้ผึ้งพาราฟรีน
Polystyrene (PS) ลอย ติดไฟง่าย เปลวเหลืองมีควันมาก กลิ่นหอมดอกไม้
Polyethlene (PET) ลอย ติดไฟง่าย เปลวสีน้ำเงินมีสีเหลือง ตอนปลาย กลิ่นเหมือนขี้ผึ้งพาราฟรีน
Nylon ลอย ง่ายปานกลาง สีน้ำเงินมีสีเหลืองตอนปลาย กลิ่นเหมือนผมไหม้
PVC จม ไม่ติดไฟ เปลวเหมือนมีควัน มีรสเปรี้ยว
ข้อควรรู้เกี่ยวกับพลาสติก
- การ Recycle พลาสติกนั้นค่อนข้างยุ่งมากกว่าขยะชนิดอื่นๆ
เพราะพลาสติกมีมากมายหลายชนิด
แต่ละชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะตัว
ซึ่งไม่สามารถนำมาหลอมรวมกันได้
- ภาชนะพลาสติก ต้องมาแยกเกรด แยกสี
บางชนิดติดโลหะมาก็ต้องแกะออก
ตัดอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ติดมากับฝาขวดออก
ดึงฉลากข้างขวดออก
การแยกชนิดมีวิธีการหลายอย่างมาก
ต้องอาศัยความชำนาญ
บางครั้งก็ใช้วิธีฟังเสียง
เอาไปลอยน้ำ
บางอย่างก็ใช้วิธีเผาแล้วดมกลิ่นเอา
- ขวดเป๊ปซี่ (ขวดลิตร) ใช้ได้เฉพาะส่วนก้นต้องแกะออก และรับซื้อส่วนก้นเป็นพลาสติกอีกชนิดหนึ่งได้
- ขวดพลาสติกพวก HDPE (high-density polyethylene)
ที่ใช้ใส่น้ำดื่ม น้ำยา ทำความสะอาด โลชั่น แชมพู ฯลฯ
มีลักษณะนุ่ม สามารถนำมา Recycle
เป็นแกลลอนน้ำมันสีดำ ถังปูน บุ้งกี๋ ถุงขยะ (ถุงดำ)
- ขวด PVC ซึ่งใช้ใส่น้ำมันพืชบางยี่ห้อ
มีลักษณะใส สามารถนำมา Recycle
ทำเป็นข้อต่อ PVC ทุ่นลูกลอยจับปลา
ส้นรองเท้าสุภาพสตรี ฯลฯ ได้
- แก้วน้ำพลาสติก หรือถ้วยไอศกรีม
ซึ่งเป็นพลาสติกโพลิสไตลีน (PS)
สามารถนำมา Recycle
เป็นตลับเทปสีดำ วีดีโอเทป กระถางต้นไม้
- พลาสติกบางประเภทที่ผสมสารไฟเบอร์ รับซื้อราคาถูกเพราะเวลาเอาไปผลิตใช้ใหม่
ต้องใช้ความร้อนสูงในการหลอม
ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
ไม่เหมือนพลาสติกธรรมดาที่ไม่ได้ผสมสารอะไร ซึ่งใช้ความร้อนไม่มากในการหลอม
- กันชนรถยนต์เป็นไฟเบอร์กลาส ไม่รับซื้อ
- จุกน้ำปลาที่ติดมากับขวดน้ำปลา เมื่อรับซื้อขวดมาแล้วแยกจุกน้ำปลาออกจากขวด
เพื่อขายเป็นพลาสติกจุกน้ำปลา
- ขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ฝาจุกขวดและขวดเป็นพลาสติก เนื้อพลาสติกต่างชนิดกัน
ต้องแยกจุกและขวดออกจากกันก่อนส่งโรงงาน
- ขวดยาคูลท์ ของเล่นเด็กพลาสติกทุกชนิด ฝาเปิดกล่องบรรจุอาหารยี่ห้อทัปเปอร์แวร์มีจำนวนมาก ขายได้
- ท่อเอสล่อน PVC
สีฟ้า สีเหลือง สีเทา รับซื้อ
แต่สีดำและไหม้ไฟไม่รับซื้อ
- สินค้าพลาสติกทุกเนื้อ
ถ้ามีรอยไหม้ไฟไม่รับซื้อ
- หลอดโฟมล้างหน้าทุกชนิด
ถาดรองพลาสติกทุกชนิด Recycle ได้
แต่ไม่นิยมมา Recycle
- ขวดยาสระผมซัลซิล ขวดครีมนวดนีเวีย
ขวดน้ำยาบ้วนปากลีสเตอรีน รับซื้อแต่ราคาถูก และสามารถนำจุกไปขายเป็นพลาสติกอีกชนิดหนึ่งได้

ที่มา: http://ssrecycle.multiply.com/journal/item/4


ตอบ 4

การเปลี่ยนแปลงของสารในปฏิกิริยาใดๆ ต้องมีการกำหนดขอบเขตการศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนที่อยู่ภายในขอบเขตของการศึกษาซึ่งรวมทั้งก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า ระบบ กับส่วนที่อยู่นอกขอบเขตที่ศึกษา เช่นภาชนะ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือวัดต่างๆเรียกว่า สิ่งแวดล้อม เช่น การทำน้ำให้เป็นน้ำแข็ง ระบบก่อนการเปลี่ยนแปลงคือน้ำ และระบบหลังการเปลี่ยนแปลงคือน้ำแข็ง ส่วนสิ่งแวดล้อมก็คือภาชนะ ระบบมีอยู่ 2 ระบบดังนี้
1. ระบบปิด คือ ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
2. ระบบเปิด คือ ระบบที่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารจำเป็นต้องระบุสมบัติต่างๆ ของระบบ เช่น มวล อุณหภูมิ ปริมาตร ความดัน ถ้าตรวจสอบได้ว่าสมบัติใดของระบบมีการเปลี่ยนแปลงก็ถือได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบ สมบัติของสารและปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติของระบบเรียกว่า ภาวะของระบบ
ในปี พ.ศ. 2317 อองตวน-โลรอง ลาวัวซิเอ ได้ทดลองเผาสารในหลอดที่ปิดสนิทพบว่า มวลรวมของสารก่อนเกิดปฏิกิริยา เท่ากับมวลรวมของสารหลังทำปฏิกิริยา จึงตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎทรงมวล
โจเชฟ เพราสต์ ได้ศึกษาการเตรียมสารประกอบบางชนิด พบว่าสารประกอบชนิดหนึ่งที่เตรียมด้วยวิธีการที่แตกต่างกันมีอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบหนึ่ง ๆ จะมีค่าคงที่ จึงตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎสัดส่วนคงที่ ตัวอย่างเช่น สารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ ( CuS ) ที่เกิดจากการรวมตัวของทองแดงและกำมะถันจะมีอัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ 2:1 เสมอ
http://www.school.net.th/library/snet5/topic7/mass.html

ตอบ 3
ปกติแล้ว อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า เนื่องจากมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน (บวกเท่ากับลบนั่นเอง) แต่ถ้าจำนวนของอิเล็กตรอนในอะตอมเปลี่ยนแปลง อะตอมนั้นจะเปลี่ยนเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกหรือลบ เรียกว่า ไอออน (ion)
ไอออนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ไอออนบวก (Cation) และไอออนลบ (Anion) ซึ่งอะตอมของแต่ละธาตุจะเปลี่ยนเป็นไอออนบวกหรือลบได้นั้น จะเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1. อะตอมของโลหะมักจะเสียอิเล็กตรอนแล้วเปลี่ยนเป็นไอออนบวก โดยจะมีประจุเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่เสียไป เช่น
Na + มีประจุบวก 1 แสดงว่า อะตอมของ Na สูญเสียอิเล็กตรอนไป 1 ตัว
Mg 2+ มีประจุบวก 2 แสดงว่า อะตอมของ Mg สูญเสียอิเล็กตรอนไป 2 ตัว
Al 3+ มีประจุบวก 3 แสดงว่า อะตอมของ Al สูญเสียอิเล็กตรอนไป 3 ตัว
. อะตอมของอโลหะมักจะรับอิเล็กตรอนแล้วเปลี่ยนเป็นไอออนลบ โดยจะมีประจุเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่รับมา เช่น
Cl - มีประจุลบ 1 แสดงว่า อะตอมของ Cl รับอิเล็กตรอนมา 1 ตัว
O 2- มีประจุลบ 2 แสดงว่า อะตอมของ O รับอิเล็กตรอนมา 2 ตัว
N 3- มีประจุลบ 3 แสดงว่า อะตอมของ N รับอิเล็กตรอนมา 3 ตัว
http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_08.html
ตอบ 1
ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%9B

ตอบ 4
ปฏิกิริยาของธาตุ
ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA
ธาตุหมู่ VIIA หรือที่เรียกว่า ธาตุแฮโลเจน (Halogen) มีทั้งหมด 5ธาตุ เรียงลำดับจากบนลงล่าง ดังนี้ F, Cl, Br, I, At มีสมบัติของธาตุที่ควรทราบ คือ
1. มีทั้ง 3 สถานะ คือ F เป็นก๊าซสีเหลือง Cl เป็นก๊าซสีเหลืองแกมเขียว Br เป็นของเหลวสีน้ำตาลแดง I เป็นของแข็งสีม่วงดำ เมื่อเป็นไอมีสีม่วง และ At เป็นของแข็ง แต่ไม่มีในธรรมชาติ เป็นกัมมันตรังสีที่สังเคราะห์ขึ้น สีของแฮโลเจนจะเข้มขึ้นจากบนลงล่าง
2. ธาตุแฮโลเจนเป็นพิษทุกชนิด F มีพิษมากที่สุด
3. โมเลกุลประกอบด้วย 2 อะตอม คือ F2 Cl2 Br2 I2
4. เป็นอโลหะ ไม่นำไฟฟ้า
5. มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดต่ำ (ทำลายแรงลอนดอนประเภทแรงแวนเดอร์วาลส์)
6. มีค่าพลังงานไอออไนเซชันค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี ( EN ) และสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง และเมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอื่นในคาบเดียวกันจะมีค่าสูงที่สุด
7. ละลายน้ำได้น้อย ( At ไม่ละลายน้ำ ) F เมื่อละลายน้ำจะทำปฏิกิริยากับน้ำ ได้ O2
8. ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว เช่น CS2 CCl4 ในตัวทำละลายเหล่านี้ I จะมีสีม่วง สารละลายของ Br มีสีส้ม และสารละลายของ Cl ไม่มีสี แต่ถ้าละลายในเอทานอล จะได้สารละลายสีน้ำตาล (โดยเฉพาะ I )
9. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า เพราะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาก จึงรวมตัวกับธาตุอื่นได้หลายอัตราส่วน
10. ความว่องไวในการทำปฏิกิริยาลดลงจากบนลงล่างในหมู่เดียวกัน F มีความว่องไวมากที่สุด
11. I ทำปฏิกิริยากับน้ำแป้งได้สารละลายสีน้ำเงินเข้ม เกิดจากโมเลกุลของ I ถูกดูดซับเข้าไปในโครงสร้างของแป้ง ( ในห่วงโซ่ของกลูโคส )
12. ธาตุแฮโลเจนตัวบนสามารถทำปฏิกิริยากับไอออนของแฮโลเจนตัวล่างในสารประกอบแฮไลด์ได้ โดย F2 สามารถทำปฏิกิริยากับ Cl- Br- I- ได้ ส่วน Cl2 สามรถทำปฏิกิริยากับ Br- I- ได้ และ Br2 สามารถทำปฏิกิริยากับ I- ได้
13. F สามารถทำปฏิกิริยากับ H แล้วเกิดระเบิดได้ในที่มืด Cl สามารถเกิดปฏิกิริยาได้ในที่มีแสงสว่าง Br ทำปฏิกิริยากับ H ได้เมื่อมี Pt ช่วยเร่งปฏิกิริยาที่ 200°C และปฏิกิริยาระหว่าง I กับ H เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้
สารประกอบของธาตุหมู่ VIIA เนื่องจากธาตุหมู่ VIIA เป็นธาตุที่รับอิเล็กตรอนได้ง่าย จึงสามรถรวมตัวกับโลหะหรืออโลหะเกิดเป็นสารประกอบมากมายหลายชนิด
สมบัติบางประการของสารประกอบของธาตุหมู่ VIIA
1. สามารถเกิดได้ทั้งสารประกอบไอออนิกและสารประกอบโคเวเลนต์ คือ ถ้ารวมตัวกับโลหะจะเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก แต่ถ้ารวมตัวกับอโลหะก็จะเกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์
2. เกิดเป็นสารประกอบที่มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า เช่น ในสารประกอบ KClO , KClO2 , KClO3 , KClO4 นั้น Cl มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +1 ,+3 ,+5 ,+7 ตามลำดับ
3. สารประกอบออกไซด์และซัลไฟต์ เมื่อละลายจะมีสมบัติเป็นกรด
ประโยชน์ของธาตุหมู่ VIIA
1. F2 ใช้เตรียมสารประกอบฟลูออโรคาร์บอน เช่น ฟรีออน ได้แก่ ฟรีออน-12 ( CCl2F ) ฟรีออน-21 ( CHCl2F ) ฟรีออน-142 ( CH3CClF2 ) ซึ่งมีความสำคัญและใช้มากในเครื่องทำความเย็น F2CCF2 ( เทฟลอน ) เป็นพลาสติกที่มีความเสถียร ทนความร้อน ผิวลื่น นิยมใช้เคลือบภาชนะต่าง ๆ นอกจากนั้นสารประกอบของฟลูออรีนในรูปของฟลูออไรด์ ใช้ผสมในน้ำดื่มและยาสีฟัน เพื่อป้องกันฟันผุ
2. Cl2 ใช้ประโยชน์ในการเตรียมสารประกอบต่าง ๆ เช่น น้ำยาซักแห้ง พลาสติกพีวีซี ( โพลีไวนิลคลอไรด์, (-H2CCHCl-)n ผงฟอกขาว DDT ผงชูรส เป็นต้น ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา และสารประกอบของคลอรีน เช่น CCl4 ใช้เป็นตัวทำละลาย
ตอบ 3


ตอบ 1

1. อะตอมของโลหะมักจะเสียอิเล็กตรอนแล้วเปลี่ยนเป็นไอออนบวก โดยจะมีประจุเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่เสียไป เช่น
Na + มีประจุบวก 1 แสดงว่า อะตอมของ Na สูญเสียอิเล็กตรอนไป 1 ตัว
Mg 2+ มีประจุบวก 2 แสดงว่า อะตอมของ Mg สูญเสียอิเล็กตรอนไป 2 ตัว
Al 3+ มีประจุบวก 3 แสดงว่า อะตอมของ Al สูญเสียอิเล็กตรอนไป 3 ตัว
. อะตอมของอโลหะมักจะรับอิเล็กตรอนแล้วเปลี่ยนเป็นไอออนลบ โดยจะมีประจุเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่รับมา เช่น
Cl - มีประจุลบ 1 แสดงว่า อะตอมของ Cl รับอิเล็กตรอนมา 1 ตัว
O 2- มีประจุลบ 2 แสดงว่า อะตอมของ O รับอิเล็กตรอนมา 2 ตัว
N 3- มีประจุลบ 3 แสดงว่า อะตอมของ N รับอิเล็กตรอนมา 3 ตัว
http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_08.html
ตอบ 1
ปริมาณสารสัมพันธ์

ปริมาณสารสัมพันธ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมวลหรือน้ำหนักของธาตุต่าง ๆ ของสารประกอบในปฏิกิริยาเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์มีประโยชน์ในแง่ของการคาดคะเนปริมาณของสารที่ต้องใช้เป็น สารตั้งต้นเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

ระบบเปิดระบบปิด
ระบบ ( System) หมายถึง สิ่งซึ่งอยู่ในขอบเขตที่ศึกษา
ระบบเปิด (Open System) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อมหรือระบบ ซึ่งมวลและพลังงานของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงมีค่าไม่คง ที่ เช่น
ระบบปิด ( Closed System) หมายถึงระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลสารกับสิ่งแวดล้อมหรือระบบ ซึ่งมวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง และหลังการเปลี่ยนแปลงคงที่ แต่พลังงานของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ เช่น

กฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
1. กฎทรงมวล
อองตวน โลรอง ลาวัวซิเอ ได้ตั้งกฎทรงมวลซึ่งสรุปได้ว่า “มวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยาย่อมเท่ากับมวลของสารทั้งหมดหลังทำ ปฏิกิริยา” กฎนี้จะใช้ได้กับปฏิกิริยาเคมีในระบบปิด ใช้ไม่ได้กับปฏิกิริยาเคมีนิวเคลียร์ เช่น เทียนไขในภาชนะปิดใบหนึ่ง มวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยาเท่ากับมวลของเทียนไขกับภาชนะ เมื่อจุดเทียนไขในภาชนะปิดนี้ แล้วทำการชั่งมวลใหม่ มวลจะเท่าเดิม (ระบบปิด)
2. กฎสัดส่วนคงที่
โจเซฟ เพราสต์ ได้ตั้งกฎสัดส่วนคงที่ซึ่งสรุปได้ว่า “ในสารประกอบหนึ่ง ๆ ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบรวมตัวกันด้วยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่คงที่เสมอ” โดยไม่คำนึงถึงว่าสารประกอบนั้นจะมีกำเนิดหรือเตรียมได้โดยวิธีใด

มวลอะตอม
อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็ก ที่สุดของธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้ มีรัศมีของอะตอมยาวประมาณ 10 -10 เมตร อะตอมที่เบาที่สุดมีมวลประมาณ 1.6 x 10 -24 กรัม อะตอมที่หนักที่สุดมีมวลประมาณ 250 เท่า ซึ่งมีค่าน้อยมาก (เป็นผลคูณของ 10 -24) มวลอะตอมเหล่านี้จะต้องรวมกันต่อไปเป็นมวลโมเลกุล ซึ่งทำให้ยุ่งยากในการคำนวณ จึงนิยมใช้มวลเปรียบเทียบที่เรียกว่า มวลอะตอมหรือน้ำหนักอะตอม
มวลของอะตอมนั้นก็คือ มวลขององค์ประกอบทั้งหมดในอะตอมรวมกัน อันได้แก่ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน ซึ่งมวลของโปรตอน และนิวตรอนนั้นใกล้เคียงกันมาก แต่ไม่เท่ากัน และสูงกว่าอิเล็กตรอน นับพันเท่า

http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/qualt_chem.htm
ตอบ 4